วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรม

นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร
นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนวัตกรรม เป็นการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยี มุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

เทคโนโลยี

เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรมคำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับ การทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วยและในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ในหลวงกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

1.ฝนหลวง
แนวพระราชดำริ ในปี พ.ศ. 2498 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชพาหนะเครื่องบินพระที่นั่ง เพื่อทรงเยี่ยมเยียนทุกข์สุของพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือย่านบริเวณเทือกเขาภูพาน ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้งได้ทวีความถี่และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นเป็นลำดับนั้น น่าจะมีสาเหตุเกิดขึ้นจากการผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ อีกทั้งการตัดไม้ทำลายป่าอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้สภาพอากาศจากพื้นดินถึงระดับฐานเมฆไม่เอื้ออำนวยต่อการกลั่นตัวของไอน้ำที่จะก่อตัวเกิดเป็นเมฆ และทำให้ยากต่อการเหนี่ยวนำให้ฝนตกลงสู่พื้นดิน จึงมีฝนตกน้อยกว่าเป็นปกติหรือไม่ตกเลย ทรสังเกตว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบินแต่ไม่สามารถก่อรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ เป็นเหตุให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนานทั้งๆ ที่เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฤดูฝนเกิดสภาพความแห้งแล้งทั่วพื้นที่ทั้งๆ ท้องฟ้ามีเมฆมาก คือ ?จุดประกายข้อสังเกต? ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะที่พระองค์ท่านได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมประชาชนและทอดพระเนตรเห็นแต่ความแห้งแล้งเกิดขึ้นทั่วไป ทั้งๆ ที่ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมอยู่ นอกจากนี้ได้ทรง พบเห็นท้องถิ่นหลายแห่งประสบปัญหาพื้นดินแห้งแล้ง หรือการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในระยะวิกฤติของพืชผลกล่าวคือหากขาดน้ำในระยะดังกล่าวนี้จะทำให้ผลผลิตต่ำหรืออาจไม่มีผลผลิตให้เลยรวมทั้งอาจทำให้ผลผลิตที่มีอยู่เสียหายได้ การเช่นนี้เมื่อเกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในคราใดของแต่ละปี จึงสร้างความเดือดร้อนอย่างสาหัสและก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวงนอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำของประเทศนับวันจะทวีปริมาณความต้องการสูงขึ้นอย่างมหาศาลเพราะการขยายตัวเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดคือ ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลลดลงอย่างน่าตกใจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับฝนหลวงแก่ข้าราชการสำนักงาน กปร. ประกอบด้วย นายสุเมธ ตันติเวชกุล นายมนูญ มุกข์ประดิษฐ์ และนายพิมลศักดิ์ สุวรรณทัต เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเรื่องฝนเทียมนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2498 แต่ยังไม่ได้ทำอะไรมากมาย เพราะว่าไปภาคอีสานตอนนั้นหน้าแล้งเดือนพฤศจิกายน ที่ไปมีเมฆมาก อีสานก็แล้ง ก็เลยมีความคิด 2 อย่าง ต้องทำ Check dam?ตอนนั้นเกิดความคิดจากนครพนม ผ่านสกลนครข้ามไปกาฬสินธุ์ ลงไปสหัสขันธ์ที่เดี๋ยวนี้เป็นอำเภอ สมเด็จ...ไปจอดที่นั่นไปเยี่ยมราษฎรมันแล้ง มีฝุ่น...??....แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ทำไมจะดึงเมฆนี่ให้ลงมาได้ ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝนก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้...?นับเป็นต้นกำเนิดแห่งพระราชดำริ ?ฝนหลวง? ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง...อย่างแท้จริง ด้วยพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ท่านที่ประกอบด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ จึงทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นแล้ว จึงได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิด ?ฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติ? โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ ทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัยว่าด้วยลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศของบ้านเราจะสามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน เนื่องจาก ?น้ำ? เป็นที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงตลอดเวลาในสังคมไทยที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากขาดแคลนน้ำอยู่ใน ขณะนั้น เป็นเพราะน้ำคือปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์และพืชพรรณธัญญาหารตลอดจนสิงสาราสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง การขาดแคลนน้ำจึงมิได้มีผลโดยตรงแค่เพียงความเป็นอยู่ของประชาชนเท่านั้นแต่ยังได้ก้าวล่วงไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยส่วนรวมอีกด้วย และถึงขนาดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า ?น้ำ คือ ชีวิต? แม้ว่าประเทศไทยเราได้พยายามอย่างสุดกำลังที่จะทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำของชาติทุกประเภทที่มีอยู่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าแหล่งทรัพยากรน้ำของประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังอยู่ห่างจากระดับความเพียงพอของความต้องการใช้น้ำของประชากรในประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลักใหญ่อยู่อีกถึง 82.6% ดังนั้น จึงทรงคาดการณ์ว่า ก่อนที่จะถึงสภาพที่สุดวิสัยหรือยากเกินกว่าจะแก้ไขได้นั้นควรจะมีมาตรการหนึ่งที่จะป้องกันและแก้ไขปัยหาดังกล่าวได้ จึงพระราชทานพระราชดำริในปี พ.ศ. 2499 แก่ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ว่า ?น่าจะมีลู่ทางที่จะคิดค้นหาเทคนิคหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้านการดัดแปรสภาพอากาศมาช่วยให้เกิดการก่อและรวมตัวของเมฆให้เกิด ?ฝน? ได้? การรับสนองพระราชดำริได้ดำเนินการอย่างจริงจังจากความร่วมมือกันระหว่าง ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ในอันที่จะศึกษาและนำวิธีการทำฝนอย่างในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับสภาพอากาศของเมืองไทย ?ฝนหลวง? หรือ ?ฝนเทียม? จึงมีกำเนิดจึ้นจากการสนองพระราชดำริ โดยประยุกต์ใช้จากผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านทำฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการ ?สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง? ขึ้น รับผิดชอบการดำเนินการฝนหลวงในระยะเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ในระยะแรกของการดำเนินการตามพระราชดำรินี้ ข้อมูล หรือหลักฐานที่นำมาทดลองพิสูจน์ยืนยันผลนั้นยังมีน้อยมาก และขาดความน่าเชื่อถือทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเรายังไม่มีนักวิชาการด้านการัดแปรสภาพอากาศ หรือนักวิชาการทำฝนอยู่เลย ดังนั้น ในช่วงเริ่มต้นของการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงติดตามผล วางแผนการทดลองปฏิบัติการ โดยทรงสังเกตจากรายงานแทบทุกครั้งอย่างใกล้ชิด

2 แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ ?เครื่องดักหมอก?
นำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหมอกที่ล่องลอยในอากาศว่าหมอกสามารถกลายเป็นหยดน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ได้ เช่น ในกรณีหมอกปลิวมากระทบก้อนหินแล้วจับตัวเป็นหยดน้ำไหลลงสู่พื้นดิน ทำให้ต้นไม้สามารถเจริญงอกงามได้และเป็นแนวคิดที่ได้ถูกนำมาใช้ในบางประเทศอย่างได้ผล โดยในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไปมักจะมีหมอกหนาแน่น ถ้าหากสามารถนำไอน้ำที่มีอยู่ในหมอกมาใช้ได้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลทางด้านการเกษตรเช่น การปลูกป่า เป็นต้นวิธีการทำเครื่องดักหมอกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ1. ใช้วัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและราคาถูก เช่น ตาข่ายไนล่อน เสื่อลำแพน ถุงปุ๋ยไนล่อน มาเป็นอุปกรณ์ทำเครื่องดักหมอก2. สร้างแผงขึงด้วยวัสดุดังกล่าวดักไอน้ำจากหมอก โดยวางให้ตั้งฉากกับทิศทางลมพัดซึ่งจะทำให้ดักหมอกได้ในอัตราสูง3. ในบางกรณีอาจสร้างขึ้นได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น บางแบบอาจติดตั้งบนกังหันลมเพื่อให้แผงดักหมอกหันสู้ลมอยู่ตลอดเวลาหรือบางครั้งแผงดักหมอกอาจทำลักษณะอ่อนตัวเพื่อมิให้แผงโค่นลืมยามลมพัดแรง4. ไอน้ำจากหมอกจะกระทบกับแผงดักหมอกทำให้เกิดลักษณะคล้ายหยดน้ำ?น้ำ? ที่เกิดขึ้นสามารถใช้ประโยชน์ในการปลูกป่า โดยอาจจะไม่ต้องเอาใจใส่ดูแลรดน้ำมากนักเพราะได้หยดน้ำธรรมชาตินี้ช่วยเหลืออยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้แม้ในพื้นที่แห้งแล้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมว่า ?...แผงดักหมอกนี้สามารถช่วยบังแดดบังลมกับต้นไม้ในระยะเวลาที่เริ่มทำการปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้ หรือในระยะแรกที่เริ่มทำการปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้เริ่มเติบโตขึ้นได้ด้วยส่วนวัสดุที่จะนำมาใช้ในการดักหมอกนี้ ควรจะเป็นวัสดุประเภทที่รูพรุนมากๆ เช่น ตาข่ายไนล่อน ซึ่งจะทำให้เกิดการจับตัวของหยดน้ำได้ดี อีกทั้งการใช้วัสุดที่เป็นเสื่อลำแพน การสานอย่าให้ทึบ ควรสานให้โปร่ง เนื่องจากในอากาศนั้นมีความชื้นอยู่แล้วจะทำให้เกิดการควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้...?การใช้ถุงปุ๋ยมาเป็นวัสดุนั้นคาดว่าจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากเมื่อหมอกมากระทบกับแผงดักหมอกนี้แล้วก็จะกระจายออกไป เพราะว่าถุงปุ๋ยมีความทึบและพื้นที่หนาแน่น มากเกินไป เครื่องดักหมอกจึงเป็นวัตกรรมรูปแบบหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแผ่นดิน เป็นแนวคิดที่แสนง่ายแต่มิมีผู้ใดคิดถึงเรื่องใกล้ตัวเช่นนี้ทัดเทียมพระองค์จึงนับเป็นพระปรีชาสามารถก็กอปรด้วยพระอัจฉริยภาพสูงส่งยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค

3. กังหันน้ำชัยพัฒนา
เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในความเดือดร้อนทุกข์ยากที่เกิดขึ้นนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียในพื้นที่หลายแห่งหลายครั้ง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด พร้อมทั้งพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขน้ำเน่าเสีย ในระยะแรกระหว่างปี พ.ศ. 2527-2530 ทรงแนะนำให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสียและวิธีกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวาและพืชน้ำต่างๆ ซึ่งก็สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ผลในระดับหนึ่ง กังหันน้ำพระราชทาน ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา สภาพความเน่าเสียของน้ำบริเวณต่างๆ มีอัตราแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่อาจบรรเทาความเน่าเสียของน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงขอพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตได้เองในประเทศ ซึ่งมีรูปแบบ "ไทยทำไทยใช้"โดยทรงได้แนวทางจาก "หลุก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น และทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย การนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ โดยดำเนินการจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียร่วมกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้นในเวลาต่อมา และรู้จักกันแพร่หลายทั่วไประเทศในปัจจุบันคือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"พระราชดำริ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเโดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มี สาระสำคัญ คือการเติมอากาศลงในน้ำเสีย มี 2 วิธีวิธีหนึ่ง ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบกระจายฟองและอีกวิธีหนึ่ง น่าจะกระทำได้โดยกังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดเล็กไม่เกิน 2 แรงม้า หรืออาจจะใช้พลังน้ำไหลก็ได้ จึงสมควรพิจารณาสร้างต้นแบบ แล้วนำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสียที่ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหารการศึกษา วิจัย และพัฒนากรมชลประทานรับสนองพระราชดำริในการศึกษาและสร้างต้นแบบ โดยดัดแปลงเครื่องสูบน้ำพลังน้ำจาก "กังหันน้ำสูบน้ำทุ่นลอย" เปลี่ยนเป็น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" และได้นำไปติดตั้งใช้ในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระยะเวลา 4-5 ปีคุณสมบัติกังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (Chaipattana Low Speed Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ ที่มีความลึกมากกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3.00 เมตร

4. ทรงอธิบายวิธีการระบายน้ำตามพระราชดำริเรื่อง “แก้มลิง”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรแม้ในถิ่นทุรกันดาร ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเอง บางแห่งต้องทรงพระดำเนินบุกป่าฝ่าเขาในภาคเหนือ ฝ่าดงทากชุกชุมในภาคใต้ เพื่อเสด็จฯไปทรงตรวจพื้นที่ที่จะพระราชทานโครงการต่างๆ ที่เหมาะสม หรือพระราชทานเขื่อนฝายแหล่งเก็บกักน้ำให้แก่ราษฎร แม้พระเสโทหยาดเต็มพระพักตร์ แม้ทากเกาะดูดพระโลหิตจากพระวรกาย ก็มิได้ทรงย่อท้อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้าช่วยแก้ปัญหาของประชาชนตลอดเวลายาวนานกว่า ๕๐ ปี โดยเฉพาะปัญหาการอาชีพ ปัญหาเรื่องน้ำ และดิน คือ การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำท่วมในฤดูฝน ทรงพระราชดำริเริ่มโครงการด้านชลประทานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ โดยทรงยึดหลักการที่ว่า “ต้องมีน้ำ น้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น” ทรงตระหนักดีว่า “น้ำ” คือชีวิต น้ำมีความสำคัญต่ออาชีพเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตของราษฎรไทย โดยเฉพาะในชนบท ทรงพระราชดำริว่า การสงเคราะห์ราษฎรที่ได้ผลควรเป็นการสงเคราะห์อย่างถาวร นั่นก็คือ การช่วยราษฎรให้สามารถพึ่งตนเองได้ จึงทรงพระกรุณาดำริ ริเริ่มโครงการต่างๆ เมื่อ “พัฒนาทรัพยากรน้ำ” ในรูปแบบต่างๆ มาโดยตลอดโครงการเขื่อนฝายแหล่งเก็บกักน้ำที่สำคัญ ทั้งเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม และป้องกันอุทกภัย คือ โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี เก็บน้ำได้ประมาณ ๗๘๕ ล้านลูกบาศก์เมตร สร้างเสร็จเปิดใช้แล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๒ และเป็นที่ประจักษ์ว่า สามารถเก็บกักน้ำไว้เพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรมและป้องกันอุทกภัยในจังหวัดภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานคร โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่จังหวัดนครนายก คือ เขื่อนใหญ่สูง จุน้ำ ๓๔๐ ล้านลูกบาศก์ เมตร จะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นการก่อสร้างเขื่อนดินผสมกับเขื่อนคอนกรีต โดยนำปูนซีเมนต์และเถ้าลิกไนต์ที่ได้จากการเผ่าถ่านหินลิกไนต์ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ผสมกับปูนทราย หิน และน้ำ บดอัดเป็นชั้นๆ สามารถลดปริมาณปูซีเมนต์ลงได้จำนวนมาก เป็นการประหยัดงบประมาณอย่างมาก เมื่อโครงการสำเร็จจะสามารถจัดสรรน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น กว่า ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ และส่งน้ำให้แก่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดนครนายก เพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ๑๖ ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำเพื่ออุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ๗ ล้านลูกบาศก์เมตร ลดอุทกภัยได้ร้อยละ ๓๔ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๕๓๙) โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีระยะเวลาดำเนินการระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๗ เป็นโครงการสำคัญโครงการหนึ่งในการแก้ปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว อันเนื่องจากน้ำเค็มรุกล้ำ และน้ำเสียจากนากุ้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้ “ทำประตูน้ำที่ปากแม่น้ำห่างจากตัวอำเภอปากพนัง ๓ กิโลเมตร ทรงพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมด ทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำเค็ม และสามารถทำให้ประชาชนมีน้ำบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร” (สุเมธ ตันติเวชกุล - แนวพระราชดำริและการพัฒนาชนบท) นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมพระราชทานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงดินในภูมิภาคต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น พระราชทานพระราชดำริให้สร้าง เขื่อนเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ ในจังหวัดต่างๆ ทั้ง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เป็นต้นว่า เขื่อนห้วยกุ่ม เขื่อนพรมธารา จังหวัดชัยภูมิ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล อ่างเก็บน้ำห้วยเสี้ยว จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำห้วยนากระจงจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ่างเก็บน้ำห้วยแดน ห้วยหีบ สกลนคร อ่างเก็บน้ำห้วยไกรทอง ประจวบคีรีขันธ์ อ่างเก็บน้ำต้นหยง นราธิวาส เขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ จำนวนมากนับด้วยร้อย ได้ช่วยให้ราษฎรในพื้นที่ที่แต่เดิมเคยแห้งแล้ง สามารถเพาะปลูกเพิ่มผลผลิตเป็นพืชพันธุ์ธัญญาหาร และใช้น้ำเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงโค ทำให้ระดับความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากพระราชทานพระราชดำริให้สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ ยังพระราชทาน โครงการระบายน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง เช่น โครงการระบายน้ำจาก “พรุบาเจาะ” จังหวัดนราธิวาส โดยทรงนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างพนังกั้นน้ำในลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณ จังหวัดหนองคาย ตามโครงการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มาเป็นแนวทางทรงประยุกต์และพระราชทานให้กรมชลประทานรับไปดำเนินการ หลังดำเนินการเพียง ๔ เดือน มีผลให้ใช้พื้นดินเป็นประโยชน์ได้ถึง ๑๑๙,๐๐๐ ไร่ และพื้นที่ “พรุบาเจาะ” ซึ่งแต่เดิมเพาะปลูกไม่ได้เพราะน้ำท่วมได้พ้นสภาพ “พรุ” ราษฎรใช้ที่ดินเพาะปลูกเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ถึงอีกเท่าตัว ในการจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระอุตสาหะวิริยะคิดค้น การทำฝนเทียม หรือ ฝนหลวง เพื่อจัดหาน้ำให้แก่พื้นดินแห้งแล้ง ด้วยพระปรีชาสามารถ ล้ำเลิศ ทรงกำหนดวิธีการไว้ ๓ ขั้นตอน คือ“ก่อกวน เลี้ยงให้อ้วน และโจมตี” เป็นปฏิบัติการที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ฝนเทียมนานาชาติต่างยกย่องพระปรีชาสามารถของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการค้นคว้าทำฝนเทียมของไทย โดย พระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นี้ ได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางกิจกรรมทำฝนในเขตร้อนของภูมิภาคอาเซียน มีประเทศต่างๆ นำแนวทางของไทยไปใช้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และบังคลาเทศ เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๕๓๙) ในการแก้ปัญหาอุทกภัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนจากน้ำท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่เศรษฐกิจด้วย จึงทรงพระวิริยะอุตสาหะศึกษาหาทางแก้ปัญหาเพื่อป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากพระราชทานพระราชดำริให้ปรับปรุงท่อระบายน้ำในตรอกซอกซอย ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองสายหลัก ด้วยการขุดลอกขยายคูคลองต่างๆ ให้กว้างและลึกสร้างอุโมงค์ผันน้ำใต้ดิน ก่อสร้างสถานีสูบน้ำเพิ่ม จัดให้มีพื้นที่สงวนเป็นที่โล่ง ไม่ให้มีการก่อสร้างขยายเมือง เพื่อให้สามารถใช้เป็นทางระบายน้ำคลองในฤดูน้ำหลากแล้ว ยังพระราชทานพระราชดำริจัดให้มี “แก้มลิง” คือ สถานที่เป็นบึงเก็บพักน้ำชั่วคราว รอให้ระดับน้ำในคูคลองระบายน้ำพร่องลง แล้วจึงระบายปล่อยน้ำ เป็นการช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขังได้ดี โครงการ “แก้มลิง” นี้มีในหลายพื้นที่ เช่น โครงการแก้มลิงฝั่งตะวัน ออก รับน้ำจากสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ผ่านคลองธรรมชาติแนวเหนือและใต้ ก่อนระบายออกสู่อ่าวไทยบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพฯ ระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น โครงการแก้มลิง นี้ ยังมีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเน่าเสีย ซึ่งเป็นปัญหาด้านสภาวะแวดล้อมด้วย โดยน้ำที่ปล่อยลงจาก แก้มลิง จะช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียในคลองต่างๆ ให้เบาบางลง แล้วผลักลงสู่ทะเล (ในหลวง นายช่างใหญ่แห่งแผ่นดิน ๒๕๔๓) พระปรีชาสามารถใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านวิศวกรรม เพื่อทรงแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การบำบัดน้ำเน่าเสีย ในชั้นแรก ได้พระราชทานพระราชดำริให้บำบัดโดยวิธีธรรมชาติ “บึงมักกะสัน” โดยใช้ผักตบชวา รับสั่งว่า “ผักตบชวา นี้ มันกินสิ่งโสโครก” การบำบัดวิธีธรรมชาตินี้ สามารถลดความเน่าเสียของน้ำเฉลี่ยได้ร้อยละ ๕๐แต่ต่อมา เมื่อการทางพิเศษสร้างทางด่วนมหานครคร่อมบึงมักกะสัน ทำให้บึงขาดแสงแดด การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติดังกล่าวจึงไม่เป็นผล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยขึ้น โดยทรงนำแนวทางเริ่มต้นมาจาก “หลุก” อุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เรียกเครื่องกลนี้ว่า “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ประดิษฐ์สำเร็จเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๖ ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลที่ ๑ ผลงานคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี ๒๕๓๖ เป็นรางวัลเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “สิทธิบัตร” เลขที่ ๓๑๒๗ ในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันนักประดิษฐ์” (ชีวิตและทรัพยากรแห่งแผ่นดิน ใต้เบื้องพระยุคลบาท ๒๕๓๙) ปัญหาจราจรแออัดติดขัดในกรุงเทพมหานคร นั้น นอกจากจะนำเอาความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากเกือบแสนล้านบาทต่อปีแล้วยังก่อปัญหามลพิษจากท่อไอเสียเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาจราจร ทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วน เช่น โครงการขยายสะพานผ่านฟ้าสีลาศและสร้างสะพานคู่ขนานสะพานมัฆวานรังสรรค์ ปรับปรุงเพิ่มช่องทางจราจรบริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพิ่มช่องทางเลี้ยวหน้ากรมประชาสัมพันธ์เดิม เพิ่มพื้นผิวจราจรบริเวณโซนสะพานพระราม ๙ และการสร้างระบบเครือข่ายระยะยาวเช่น โครงข่ายถนนวงแหวนรัชดาภิเษก โครงข่ายถนนวงแหวนอุตสาหกรรม โครงข่ายจตุจักรทิศตะวันตก - ตะวันออก ซึ่งมีการสร้างสะพานพระราม ๘ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ จะเชื่อมต่อเส้นทางจราจรกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ซึ่งโปรดให้สร้างขึ้นตามพระราชดำริ เพื่อลดปัญหาการจราจรแออัดต่อเนื่องระหว่างกรุงเทพฯกับธนบุรีแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของพสกนิกรไทย มีอีกเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้จากมีโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริมากกว่า ๒,๐๐๐ โครงการ ในด้านอาชีพเกษตรกรรมของราษฎร นั้น ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนประเทศไทยจะตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยทรงกำหนดให้เกษตรกรแบ่งพื้นที่ประมาณ ๑๕ ไร่ เป็น ๓ ส่วนส่วน แรกประมาณ ๓ ไร่ ขุดสระกักน้ำไว้ใช้เพาะปลูก ส่วนที่สอง ประมาณ ๑๐ ไร่ เป็นที่เพาะปลูก ทำนาข้าว ๕ ไร่ ปลูกพืชสวน ๕ ไร่ ส่วนที่สาม ประมาณ ๒ ไร่ เป็นที่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชสวนครัว เป็นหลักการของ ทฤษฎีผสมผสานให้ราษฎรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ คือ ผืนดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการพึ่งพาตนเองได้ ช่วยให้มีที่อยู่ มีข้าวและพืชผักพอบริโภค ถ้ามีผลดีอาจขายเป็นรายได้เสริมไม่ร่ำรวยแต่ไม่อดอยาก และเป็นหลักการของ “เศรษฐกิจพอเพียง” ตลอดระยะเวลา ๕๔ ปี นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราช พระปัญญาคุณ พระเกียรติคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระเมตตาคุณ มิได้แผ่ปกเฉพาะพสกนิกรไทย หากแต่ยังแผ่ไพศาลไปถึงประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย และมิใช่ชาวไทยเท่านั้นที่เทิดทูน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ชาวต่างประเทศต่างก็แซ่ซ้องสดุดีสรรเสริญพระเกียรติคุณพระมหาราชเจ้าของชาวไทยดังปรากฏว่า สถาบันในนานาประเทศได้ยกย่องประกาศเกียรติคุณ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขาต่างๆ เป็นจำนวนมาก ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ นี้ สถาบันวิศวกรโยธาแห่งสหราชอาณาจักร ก็เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่เฉลิมพระ เกียรติ ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพ “วุฒิวิศวกรกิตติมศักดิ์” ด้วยประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนำความปลาบปลื้มปีติมาสู่พสกนิกรชาวไทยถ้วนหน้า อีกวาระหนึ่ง ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เทอญ

5.ทฤษฎี "แกล้งดิน"
อันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาสในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่าหลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้1. ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์2.การปรับปรุงดิน มี 3 วิธีการ ตามสภาพของดินและความเหมาะสม คือใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินั่มที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะถ้าหากใช้ปุ๋ย ไนโตรเจนและฟอสเฟตก็สามารถให้ผลผลิตได้การใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เช่น ปูนมาร์ล ปูนฝุ่นซึ่งปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดินการใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรง และถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน3. การปรับสภาพพื้นที่ มีอยู่ 2 วิธี คือการปรับระดับผิวหน้าดิน ด้วยวิธีการ คือปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำไหลไปสู่คลองระบายน้ำตกแต่งแปลงนาและคันนาใหม่ เพื่อให้เก็บกักน้ำและระบายน้ำออกไปได้การยกร่องปลูกพืช สำหรับพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นที่ให้ผลตอบแทนสูง ถ้าให้ได้ผลต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพื่อขังและถ่ายเทน้ำได้เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด การยกร่องปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล ต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้น หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรทำ หรืออาจยกร่องแบบเตี้ย ๆ พืชที่ปลูกเปลี่ยนเป็นพืชล้มลุกหรือพืชผัก และควรปลูกเป็นพืชหมุนเวียนกับข้าวได้วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร1. เพื่อใช้ปลูกข้าวเขตชลประทาน - ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่ - ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ในอัตรา 1 ตัน/ไร่เขตเกษตรน้ำฝน - ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตรา 2.5 ตัน/ไร่ - ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยว หลังจากหว่านปูนให้ทำการไถแปร และปล่อยน้ำให้แช่ขังในนาประมาณ 10 วัน จากนั้นระบายน้ำออกเพื่อชะล้างสารพิษ และขังน้ำใหม่เพื่อรอปักดำ2. เพื่อใช้ปลูกพืชล้มลุกการปลูกพืชผัก มีวิธีการ คือยกร่อง กว้าง 6-7 เมตร คูระบายน้ำกว้าง 1.5 เมตร และลึก 50 ซม.ไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้ 3-5 วันทำแปลงย่อยบนสันร่อง ยกแปลงให้สูง 25-30 ซม. กว้าง 1-2 เมตร เพื่อระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อป้องกันไม่ให้แปลงย่อยแฉะเมื่อรดน้ำหรือเมื่อมีฝนตกใส่หินปูนฝุ่นหรือดินมาร์ล 2-3 ตัน/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทิ้งไว้ 15 วันใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ 5 ตัน/ไร่ ก่อนปลูก 1 วัน เพื่อปรับปรุงดินการปลูกพืชไร่บางชนิด กระทำได้ 2 วิธี คือแบบยกร่องสวนและแบบปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 หลังจากการทำนา การปลูกพืชไร่แบบยกร่องสวนมีวิธีเตรียมพื้นที่เช่นเดียวกับการปลูกพืชผักการปลูกพืชไร่หลังฤดูทำนา ซึ่งอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน การเตรียมพื้นที่ต้องยกแนวร่องให้สูงกว่าการปลูกบนพื้นที่ดอน 10-20 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแช่ขังถ้ามีฝนตกผิดฤดู ถ้าพื้นที่นั้นได้รับการปรับปรุงโดยการใช้ปูนมาแล้ว คาดว่าคงไม่จำเป็นต้องใช้ปูนอีก 3. เพื่อปลูกไม้ผลสร้างคันดินกั้นน้ำล้อมรอบแปลงเพื่อป้องกันน้ำขัง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกตามต้องการยกร่องปลูกพืชตามวิธีการปรับปรุงพื้นที่ที่มีดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผลน้ำในคูระบายน้ำจะเป็นน้ำเปรี้ยว ต้องระบายออกเมื่อเปรี้ยวจัดและสูบน้ำจืดมาแทน ช่วงเวลาถ่ายน้ำ 3-4 เดือนต่อครั้งควบคุมระดับน้ำในคูระบายน้ำ ไม่ให้ต่ำกว่าชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นใส่ปูน อาจเป็นปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น โดยหว่านทั่วทั้งร่องที่ปลูกอัตรา 1-2 ตัน/ไร่กำหนดระยะปลูกตามความเหมาะสมของแต่ละพืชขุดหลุม กว้าง ยาว และลึก 50-100 ซม. แยกดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรค เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หรือบางส่วนของดินชั้นล่างแล้วกลบลงไปในหลุมให้เต็ม ใส่ปุ๋ยหมัก 1 กก./ต้น โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปูนในอัตรา 15 กก./หลุมดูแลปราบวัชพืช โรค แมลง และให้น้ำตามปกติ สำหรับการใช้ปุ๋ยบำรุงดินขึ้นกับความต้องการและชนิดของพืชที่จะปลูก

6. เศรษฐกิจแบบพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัย ในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ" พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู๋ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ ์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้" .... ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้นจะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรงด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทําการเกษตรได้ และค้าขายได้.... " ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทําให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดําริของ " เศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งบได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงําความคติดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกินขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น " เศรษฐกิจพอเพียง " จึงได้สื่อความหมาย ความสําคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขายสะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มี่อยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทําให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจําเป็นที่ทําได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนําไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือวิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลําดับความสําคัญของ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จํากัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุมได้การใช้ทรพัยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximization of Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืนการบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่รํ่ารวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทําให้รํ่ารวยมากขึ้นในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทําให้เกิดความเข้มแข็งและความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สําคัญคือการบริโภคนั้นจะทําให้เกิดความรู้ที่จะอยุ่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทํา เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสําหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า" มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ " บุคคล " กับ " ระบบ " และปรับความต้องการที่ไม่จํากัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกําไร และอาศัยความร่วมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบสังคมการผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนําเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดําริในเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคําพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า " ....ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร " ในการผลิตนั้นจะต้องทําด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทําโครงการแต่ไม่ได้คํานึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสําคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสําหรับใช้ในโรงงานนั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนํามาจากระยะไกล หรือนําเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นําเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะตํ่าลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทําให้ราคาตกหรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทําให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาดขายได้ในราคาที่ลดลงทําให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้

7. โครงการปลูกหญ้าแฝก

การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนี่งของประเทศ มีผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงพระราชทานพระราชดำริให้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขี้น เนื่องจากหญ้าแฝกเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย มีรากที่ยาว แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผง และง่ายต่อการรักษา เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเป็นครั้งแรกให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำการศึกษา ทดลอง และดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและเพื่อประโยชน์อื่น ๆ หน่วยงานทั้งหลายจึงได้รับสนองพระราชดำริตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นผู้ประสานงานพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝกมีใจความสรุปได้ว่า
๑. หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาทด ลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง
๒. การดำเนินการทดลองการปลูกหญ้าแฝก ให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ดังนี้
ก. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
และช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย
ข. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ราบ ให้ดำเนินการในลักษณะดังนี้
- ปลูกโดยรอบแปลง
- ปลูกลงในแปลง แปลงละ ๑ หรือ ๒ แนว
- สำหรับแปลงพืชไร่ ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
ค. การปลูกหญ้าแฝกรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำมิให้ตื้นเขินอันเนื่องมาจากตะกอนจากการพังทลายของดิน ตลอดจนช่วยรักษาดินเหนือ
อ่างและช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำทวีความสมบูรณ์ขี้นอย่างรวดเร็ว
ง. การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกแฝกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำทั้งนี้ให้บันทึกภาพ
ก่อนดำเนินการและหลังการดำเนินการไว้เป็นหลักฐาน ๓.ผลของการศึกษาทดลอง ควรเก็บข้อมูลทั้งทางด้านการเจริญเติบโตของลำต้นและราก ความสามารถในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของดินและการเก็บความชื้นในดินและเรื่องพันธุ์หญ้าแฝกต่าง ๆ ด้วยกรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ รวมไปถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนน ได้ร่วมในโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานด้านบำรุงทางและก่อสร้างทาง โดยเฉพาะทางหลวงที่ตัดใหม่ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินลาดคันทางและลาดเหนือคันทางในสายทางต่าง ๆ พร้อมทั้งส่งเสริมแผยแพร่ข้อมูลเทคนิควิชาการเกี่ยวกับหญ้าแฝกแก่หน่วยงานในส่วนภูมิภาค และจัดทำวิดีทัศน์โครงการปลูกหญ้าแฝกเกี่ยวกับการประยุกต์ เทคนิควิธีการปลูกหญ้าแฝกในงานทาง พื้นที่เป้าหมายใการดำเนินการปลูกหญ้าแฝกของกรมทางหลวงคือ เชิงลาดดินตัดเหนือคันทาง (Back Slope) เชิงลาดดินถมคันทาง (Side Slope) ที่สูงและมีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้างพังทลายของดิน สำหรับสายทางในพื้นที่ ภูเขา ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยดินทรายที่สลายตัวมาจากหินแกรนิตและหินทราย เป็นพื้นที่เป้าหมายเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและการอนุรักษ์ดิน การปลูกหญ้าแฝกบริเวณเชิงลาดทางมีอยู่ ๒ ลักษณะ ขึ้นอยู่กับสภาพความรุนแรงหรือแนวโน้มของการจะเกิดการชะล้างพังทลายของเชิงลาดทางคือ
๑. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่มีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินต่ำ การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เชิงลาดนี้เป็นรูปแบบการปลูกโดยทั่วไปมีลักษณะการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางแนวลาดเท โดยมีระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวอยู่ในช่วง ๑๐ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเท ประมาณ ๑.๐๐ เมตร
๒. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่ได้เกิดการชะล้างพังทลายหรือมีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินสูง การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลักษณะนี้เพื่อลดหรือป้องกันไม่ให้การพังทลายของดินเกิดลุกลามขยายตัวรุนแรงขึ้น หรือเป็นการปลูกในงานก่อสร้างแก้ไขการเคลื่อนตัวของดิน ลักษณะการปลูกจะลดระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวเป็น ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเทประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
จากการดำเนินการโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกของกรมทางหลวง สามารถสรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้
๑. การปลูกหญ้าแฝกบริเวณพื้นที่เชิงลาดถนนสามารถป้องกันหรือลดการชะล้างพังทลายของดินได้ และเป็นวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ราคาถูก ให้
ผลทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
๒. การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็น "Long Term Stabilized Slope" ในสภาวะที่เหมาะสมหลังการปลูกเป็นเวลา
ประมาณ ๑ ปี หรือ ๑ ฤดูฝน หญ้าแฝกจึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้ เนื่องจากรากจะเจริญเติบโตยาวประมาณ
๑ เมตร และกอหญ้าแฝกในแถวจะเจริญเติบโตชิดติดกัน
๓. ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหญ้าแฝกเป็นช่วงตันฤดูฝนหรือช่วงระยะเวลาในฤดูฝน
๔. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกหญ้าแฝกประสบผลสำเร็จจ ได้ผลดีมีอัตราการรอดตายสูง คือ ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสม การปลูกหญ้า
แฝกในพื้นที่ภาคใต้ได้ผลดี เนื่องจากมีฤดูฝนยาวนานถึง ๗ เดือน
๕. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณลาดดินถมคันทาง (Side Slope) จะได้ผลดี หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกบริเวณลาดดินตัดเหนือคันทาง
(Back Slope) เนื่องจากสภาพความสมบูรณ์และลักษณะความแน่นของดิน
๖.หลังการปลูกหญ้าแฝกมีความจำเป็นที่ต้องดูแลรักษา กำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ย เป็นเวลา ๑ - ๒ ปี
๗. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้าง พังทลายของดินได้สูงหรือรุนแรงหรือบริเวณที่ได้เกิดการเคลื่อนตัวของดินแล้วให้ลด
ระยะห่างของการปลูกลงโดยมีระยะห่างระหว่างกอแฝก ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร
๘. กล้าหญ้าแฝกที่ปลูกควรเป็นกล้าแฝกที่ปลูกชำในถุงพลาสติกที่อภิบาลไว้ก่อนนำไปปลูกประมาณ ๔๕ - ๖๐วัน
๙. การปลูกหญ้าแฝกในบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ภาคเหนือหญ้าแฝกไม่เจริญเติบโตหรือเจริญเติบโตไม่ดี เนื่องจากหญ้าในพื้นที่หรือวัชพืช
เจริญเติบโตงอกงามและแพร่พันธุ์ได้เร็วกว่า
กรมทางหลวงได้นำเทคนิควิธีการหญ้าแฝกมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน และได้มีการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เทคนิคการปลูกหญ้าแฝกในงานทางแก่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงในส่วนภูมิภาค เพื่อเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงได้มีความรู้เข้าใจถึงประโยชน์ของหญ้าแฝกในการป้องงกันการชะล้างพังทลายของดิน เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นและประหยัดงบปประมาณด้านบำรุงรักษา โดยได้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ปลูกในสายทางต่าง ๆ ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ในสายทางพื้นที่ภูเขาภาคเหนือ-ภาคใต้ ในลักษณะที่เป็นงานส่วนหนึ่งซี่งสามารถกระทำได้เป็นปกติ ที่ดำเนินการได้เอง เมื่อเกิดปัญหาในงานบำรุงปกติ งานก่อสร้างแก้ไขการเคลื่อนตัวของเชิงลาด (Slide) ตลอดจนแขวงการทางบางแห่งได้มีการปลูกขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝกสำรองไว้ใช้เอง



8.โครงการพัฒนาดอยตุง ( พื้นที่ทรงงาน )

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมี พระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดชหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์
ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาทในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา มาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมากพระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ ท่านนายกฯ ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบ
ในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้
1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่
2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่
3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่
4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่
5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่
6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่
่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่








ที่มาของรูปและข้อมูล http://www.deqp.go.th/king/king4-2.jsp?languageID=th
http://mali9422.blogspot.com/2007/12/blog-post_12.html







http://www.bpp.go.th/project/project_18.html







http://www.bpp.go.th/project/project_19.html







http://siweb.dss.go.th/sci60/team49/work/work_9.htm